ระบบสมาชิก
ทดสอบเมนู
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
วันนี้ 24
เมื่อวานนี้ 6
เดือนนี้ 42
เดือนที่แล้ว 211
ปีนี้ 860
ปีที่แล้ว 1,991

ประเทศลาว (Lao)

ธงชาติลาว

ความเป็นมาของธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป.ลาว

สำหรับสาธารณารัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ สปป.ลาว มีการเปลี่ยนแปลงธงชาติหลัก ๆ ตามสถาการณ์ที่สำคัญด้วยกัน 3 สมัย 3 รูปแบบ ได้แก่ 1.ธงชาติลาวสมัยตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศส (ค.ศ. 1893-1952)    2. ธงชาติสมัยพระราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 2492-2518 (ค.ศ. 1952-1975)  และ  3. ธงชาติที่ถูกใช้มาจวบจนปัจจุบัน   ทีนี้เรามาดูกันเลยว่าธงชาติแต่ละสมัยนั้นมีความเกี่ยวพันในช่วงสถานการณ์ใดบ้าง

ซึ่งรูปแบบธงชาติลาวสมัยตกเป็นรัฐในอารักขาของฝรั่งเศสนั้น  มีความเกี่ยวพันในปีพ.ศ. 2436  สยามประเทศได้เกิดมีการขัดแย้งกับประเทศฝรั่งเศส  เกี่ยวพันในเรื่องของอำนาจเหนือดินแดนทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง  จนทำให้เกิดวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112 จากการใช้กลเล่ห์เหลี่ยมของ โอกุสต์  ปาวีกงสกุล   โดยการใช้เรือรบหลากหลายลำเดินขบวนมาปิดอ่าวไทยเอาไว้   เพื่อทำท่าทีและบีบบังคับเพื่อต้องการให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง  และยังหมายรวมถึงดินแดนอื่น  ๆ อีกด้วย  ด้วยเหตุนี้ทำให้ดินแดนลาวเกือบทั้งหมดทุกพื้นที่  ต้องตกไปอยู่ภายใต้อำนาจอิทธิพลของประเทศฝรั่งเศสในปีนั้น ๆ โดยสิ้นเชิง  จนทำให้ถูกรวมเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนจีนฝรั่งเศส  และยังไม่จบเพียงเท่านี้  เพราะ ในช่วงปี พ.ศ. 2450  ดินแดนลาวทั้งหมดทางด้านฝั่งขวาของแม่น้ำโขงก็ต้องตกเป็นของฝรั่งเศสทั้งหมดในเวลาต่อมา

ส่วนรูปแบบธงชาติลาวสมัยพระราชอาณาจักรลาวนั้น มีความเกี่ยวพันใน โดยที่ช่วงสมัยหลังจากที่ลาวได้ประกาศเอกราชตามสนธิสัญญาเจนีวาในปี พ.ศ.2496  โดยที่ก่อนหน้านั้นพรรคประชาชนปฏิวัติลาวสามารถล้มรัฐบาลระบอบกษัตริย์ได้  จนสามารถสถาปนาตนให้เป็นสาธารณรับประชาธิปไตยประชาชนลาวได้อย่างสำเร็จ  และใช้การปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข   โดยในช่วงเวลานั้น สมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ทรงเป็นสมเด็จพระเจ้ามหาชีวิตพระองค์แรก และเจ้าสุวรรณภูมาทรงเป็นนายกรัฐมนตรีองค์แรกแห่งราชอาณาจักรลาว

และจนมาถึง ธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป.ลาว  แบบปัจจุบัน   ธงชาตินี้มีชื่อเรียกในภาษาลาวว่า ธงดวงเดือน  โดยออกแบบขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และได้รับการออกแบบจากนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของชาวลาว มีนามว่า มหาสิลา วีระวงส์   สำหรับรูปแบบธงชาตินี้เริ่มใช้อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่  2 ธันวาคม พ.ศ. 2518   ซึ่งอยู่ในช่วงวันสถาปนาประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ให้มีลักษณะตามที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หมวดที่ 10 มาตราที่ 91 ดังนี้

“ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นธงพื้นสีคราม, แถบแดง, และวงเดือนสีขาวอยู่กึ่งกลางของธงชาติ. ความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว, ความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม.”

ลักษณะและความหมายของธงชาติสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว – สปป.ลาว

ธงชาติของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีรูปแบบที่ใช้อยู่ในปัจจุบันที่ชื่อว่า ธงดวงเดือน  ซึ่งลักษณะของธงชาติในรูปแบบนี้จะมีความกว้างของธงเท่ากับสองส่วนสามของความยาว  โดยมีสีบนตัวธงประกอบไปด้วย 3 สีด้วยกัน  คือ พื้นสีคราม  มีแถบเป็นสีแดง  และวงเดือนที่มีสีขาว   ซึ่งความกว้างขอบแถบสีแดงแต่ละข้างเท่ากับกึ่งหนึ่งของแถบสีคราม และวงเดือนสีขาวกว้างเท่ากับสี่ส่วนห้าของความกว้างแถบสีคราม   ส่วนความหมายของสีและสัญลักษณ์บนตัวธงชาติสามารถแยกความหมายได้ดังนี้คะ

สีน้ำเงิน ซึ่งจะหมายถึง ความมั่งคั่งอุดมสมบูรณ์ของชาติ
– สีแดง  ซึ่งจะหมายถึง  เลือดแห่งการต่อสู้เพื่ออิสระภาพของชาวลาว
– วงกลมสีขาว  ซึ่งจะหมายถึง  พระจันทร์สีขาว    ให้เป็นสัญลักษณ์ของดวงจันทร์ลอยเด่นเหนือลำน้ำโขง   โดยรวมแล้วจะหมายถึงเอกภาพของชาติภายใต้การปกครองของรัฐบาลพรรคประชาชนปฏิวัติลาว (พรรคคอมมิวนิสต์ลาว)   และหมายรวมถึงการกลับมารวมกันอีกครั้งของชาวลาวสองฝั่งโขงอีกด้วย

เกร็ดความรู้

สำหรับการเดินทางเข้าสู่ประเทศลาวนั้น สิ่งที่ควรรู้สำหรับนักท่องเที่ยว ก็คงจะเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อ วัฒนธรรม ประเพณี ซึ่งนักท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องศึกษาและทำความเข้าใจ เพื่อประพฤติและปฏิบัติตนตลอดเวลาที่อยู่อาศัยหรือท่องเที่ยวในประเทศลาว  ซึ่งสิ่งต่างๆ มักแอบแฝงเกี่ยวพันไปกับเรื่องที่ไม่ควรประพฤติและปฏิบัติ ส่วนใหญ่แล้ว ชาวลาวมักมีความเชื่อและนับถือสิ่งต่างๆ คล้ายๆ กับชาวไทยเสียส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นการประพฤติ ปฏิบัติตนให้มีความเหมาะสม สุภาพและมารยาทต่าง ๆ ที่ดีงามและควรปฏิบัติ  แนวทางการนับถือพระพุทธศาสนา เป็นต้น

ส่วนสิ่งที่นักท่องเที่ยวควรรู้และไม่ควรประพฤติปฏิบัติตนในระหว่างที่อยู่ในประเทศลาว ซึ่งมีหลากหลายข้อด้วยกัน เช่น สำหรับชาวลาวแล้ว ศีรษะถือเป็นสิ่งที่อยู่สูงสุดและถือว่าสิ่งที่อยู่ต่ำที่สุดคือเท้า เพราะฉะนั้นนักท่องเที่ยวควรระมัดระวังในเรื่องของการจับศีรษะเล่น เพราะการประพฤติเช่นนี้สำหรับคนลาวแล้วถือเป็นการกระทำที่เสียมารยาทอย่างร้ายแรงที่สุดและไม่ควรกระทำเป็นอย่างมาก ในเรื่องของการมีสัมมาคารวะและการเคารพสิทธิก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญ แม้กระทั่งหากนักท่องเที่ยวต้องการถ่ายภาพหรือถ่ายรูปบุคคลและสถานที่ที่เป็นส่วนบุคคล นักท่องเที่ยวควรที่จะขออนุญาตเจ้าของสถานที่นั้นๆ หรือเจ้าบ้านในบริเวณนั้นเสียก่อน เป็นต้น