ระบบสมาชิก
ทดสอบเมนู
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
วันนี้ 13
เมื่อวานนี้ 6
เดือนนี้ 42
เดือนที่แล้ว 211
ปีนี้ 860
ปีที่แล้ว 1,991

ประเทศเมียนมา (Myanmar)

 

ธงเมียนมาร์, ธงชาติพม่า

ความเป็นมาของธงชาติสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  (The Republic of the Union of Myanmar)

สำหรับธงชาติของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ หรือ ประเทศพม่า ถือได้ว่ามีอีกประเทศหนึ่งที่มีการปรับเปลี่ยนและทำการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของธงชาติในช่วงหลากหลายยุค หลากหลายสมัยตามประวัติศาสตร์ของชาวพม่า จนทำให้กว่าจะมาถึงรูปแบบของธงชาติในปัจจุบันที่ใช้อยู่นั้น สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์ต้องมีการเปลี่ยนแปลงการใช้รูปแบบของธงชาติอย่างหลากหลายรูปแบบด้วยกัน

สำหรับในอดีตสมัยราชวงศ์อลองพญา อาณาจักรพม่าได้มีการใช้ธงชาติที่มีลักษณะธงเป็นพื้นสีขาว ตรงกลางผืนธงมีรูปนกยูง และคราวมาถึงอาณาจักรพม่าได้ตกเป็นอาณานิคมของประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษ แต่ในช่วงนั้นมีการผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินเดียในช่วงปี พ.ศ. 2428 ทำให้ในสมัยนั้นธงชาติที่ถูกชัดขึ้นสูงยอดเสาธงเหนือดินแดนพม่าคือธงชาติสหราชอาณาจักร ต่อมาเมื่ออาณาจักรพม่าได้ทำการแยกเป็นอาณานิคมโดยตรงจากประเทศอินเดียในปี พ.ศ.2480 รัฐบาลประเทศสหราชอาณาจักรอังกฤษจึงมีการกำหนดให้ใช้ธงเรือรัฐบาล ซึ่งธงนี้จะมีตรานกยูงในวงกลมอยู่ด้านปลายธงซึ่งเป็นธงประจำดินแดน โดยที่ธงนี้จะต้องถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาธงคู่กับธงชาติสหราชอาณาจักรเท่านั้น แต่อาณาจักรพม่าก็ยังคงมีธงผู้ว่าการแห่งสหภาพพม่า ซึ่งธงจะเป็นรูปแบบธงยูเนียนแจ๊ค มีตรานกยูงในวงกลมอยู่ตรงกลางธงเช่นกัน

จนมาถึงในช่วงที่อาณาจักรพม่าได้ประกาศเป็นเอกราชจากประเทศอังกฤษในปี พ.ศ.2491 อาณาจักรพม่าจึงมีการกำหนดธงชาติพม่าในรูปแบบใหม่ โดยที่ลักษณะของธงนี้จะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นธงจะเป็นสีแดง ส่วนที่มุมบนด้านคันธงเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก โดยที่ภายในพื้นที่สีน้ำเงินนั้นจะมีรูปดาวห้าแฉกสีขาวอยู่ 1 ดวง และถูกล้อมรอบด้วยดาวสีขาวดวงเล็ก ๆ อีก 5 ดวง โดยธงชาติรูปแบบนี้ได้ถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาเหนือแผ่นดินสหภาพพม่าในครั้งแรกก็เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2491 ในเวลา 04.25 น. โดยที่ธงนี้จะให้ความหมายในส่วนต่าง ๆ ดังนี้ สำหรับดาวดวงใหญ่บนธงจะสื่อถึงสหภาพพม่า และดาวดวงเล็กทั้ง 5 จะสื่อถึงชาวพม่า ชาวไทยใหญ่ ชาวกะเหรี่ยง ชาวชิน และชาวคะฉิ่น สำหรับสีขาวสื่อถึงความซื่อสัตย์สุจริต

จนกระทั่งในเวลาต่อมาได้เกิดการทำรัฐประหารรัฐบาลแห่งสหภาพพม่าด้วยนายพลเน วิน และมีการเปลี่ยนแปลงโดยทำการประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่าแทน ทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนธงชาติอีกครั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2517 ธงชาติในช่วงนี้จะมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดและสัดส่วนความกว้างต่อความยาวของธงประมาณ 5:9 2:3 หรือ 6:11 โดยที่ตัวธงจะมีพื้นสีแดง และที่มุมธงด้านบนจะมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีน้ำเงินขนาดเล็ก ซึ่งภายในจะมีรูปช่อรวงข้าวอยู่หน้าฟันเฟืองที่ถูกล้อมรอบด้วยดาวห้าแฉกถึง 14 ดวงจนกลายเป็นวงกลม โดยที่รูปช่อรวงข้าว ฟันเฟือง และดาว 14 แฉก จะเป็นรูปสีขาวทั้งหมด โดยที่สื่อความหมายในรูปช่อรวงข้าวอยู่หน้าฟันเฟืองนั้น จะหมายถึง สัญลักษณ์ในเชิงสังคมนิยม หรือหมายถึง ชาวนาและกรรมกร ส่วนดาวห้าแฉกทั้ง 14 ดวง จะหมายถึง เขาการปกครองทั้ง 14 เขตของประเทศพม่าในช่วงนั้น ซึ่งมีทั้งหมด 7 รัฐ 7 เขต และในส่วนของพื้นธงสีแดง จะหมายถึง ความกล้าหาญทั้งหมด สีขาว จะหมายถึง ความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงิน จะหมายถึง สันติภาพและความอุดมสมบูรณ์ของประเทศพม่า

และในเวลาต่อมาประเทศพม่าได้มีการประชุมสมัชชาร่างรัฐธรรมนูญ ในเวลานั้นได้มีการเสนอแบบของธงชาติพม่าขึ้นใหม่อีกครั้งในช่วงวันที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 การเปลี่ยนธงชาติพม่าใหม่ครั้งนี้ ได้มีการเสนอเรื่องโดยคณะกรรมาธิการชุดหนึ่ง ภายใต้การดำเนินการของสภาแห่งชาติพม่า อย่างไรก็ตาม สื่อของทางการพม่าได้กล่าวในภายหลังว่า บรรดาผู้แทนในสภาแห่งชาติพม่าได้เลิกล้มความคิดดังกล่าวแล้ว การเปลี่ยนธงชาติพม่าจึงยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งธงรูปแบบที่ถูกคิดขึ้นใหม่และไม่ได้ถูกนำมาใช้นี้ จะมีลักษณะด้วยการแบ่งพื้นธงเป็นสามส่วนเท่ากัน ในส่วนแถบบนสุดจะเป็นพื้นสีเขียว ซึ่งจะสื่อความหมายถึง ความสงบและความเขียวชอุ่มของดินแดนประเทศพม่า ส่วนแถบตรงกลางจะเป็นสีเหลือง ซึ่งจะสื่อความหายถึง ความสามัคคีของชาวพม่า และแถบล่าสุดจะเป็นพื้นสีแดง สื่อความหมายถึงความกล้าหาญและความเด็ดขาด และท้ายสุดคือที่มุมธงด้านคันธงจะมีรูปดาวสีขาวอยู่ ซึ่งหมายถึง สหภาพพม่าจะคงอยู่ชั่วกาลปาวสาน

จนกระทั่งในเวลาต่อมา ในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2550 ประเทศพม่าก็ได้มีการเสนอรูปแบบธงชาติพม่าขึ้นใหม่อีกครั้ง สำหรับธงที่ถูกคิดค้นขึ้นใหม่นี้จะมีลักษณะเป็นธงสามสีและเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าเช่นเดียวกัน ภายในตัวธงจะถูกแบ่งตามแนวนอน จนมีความกว้างเท่ากัน พื้นธงจะมีสีเหลือง-เขียว-แดง กลางตัวธงจะมีรูปดาวสีขาวขนาดใหญ่ ซึ่งธงรูปแบบนี้ได้กำหนดรวมอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสหภาพพม่าด้วย เมื่อมีการรับรองร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าว และได้มีการลงประชามติในช่วงเดือน พฤษภาคม พ.ศ. 2551 จึงเท่ากับว่ารูปแบบธงชาติในรูปแบบนี้ ประเทศพม่าได้มีการยอมรับธงชาติพม่าในรูปแบบใหม่อีกครั้งและเป็นไปตามประชามตินี้ด้วย ซึ่งทั้งรัฐธรรมนูญและธงชาติรูปแบบใหม่นี้ จะถูกเริ่มบังคับใช้เมื่อมีการจัดตั้งรัฐสภาชุดแรกตามรัฐธรรมนูญใหม่ภายในปี พ.ศ. 2553 และธงรูปแบบนี้ก็ได้ถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาธงในประเทศพม่าเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2553 ในเวลา 15.00 น. ที่กรุงเนปยีดอ และถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาธงที่อาคารศาลาว่าการนครย่างกุ้ง ในช่วงเวลา 15.33 น. เหตุที่มีการนำธงชาติในรูปแบบนี้ขึ้นสู่ยอดเสาในวันที่ 21 ตุลาคม 2553 เป็นเพราะฤกษ์งามยามดีที่ได้รับการแนะนำให้ทำพิธีเชิญธงได้รับคำแนะนำจากหมอดูและนักดูฤกษ์ ทั้งสองฝ่ายต่างได้รับความเชื่อถืออย่างสูงในพม่า วันที่กำหนดคือ 21 คือการนำเลข 2 กับเลข 1 บวกกัน ซึ่งเท่ากับ 3 ก็ได้เวลาทำพิธีคือบ่าย 3 ซึ่งตรงกับที่ปีนี้เป็นปี 2010 เมื่อบวกตัวเลขปีแล้วก็ได้เท่ากับ 3 เหมือนกัน ซึ่งเป็นเวลาก่อน 17 วัน ที่จะมีการเลือกตั้งทั่วไปของประเทศพม่า ในช่วงวันที่ 7 พฤศจิกายนปีเดียวกันนั่นเอง และถือได้ว่าเป็นธงชาติรูปแบบที่ถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้

ลักษณะและความหมายของธงชาติ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์  (The Republic of the Union of Myanmar)

ธงชาติที่ถูกชักขึ้นเสาธงเหนือแผ่นดินประเทศพม่าเป็นครั้งแรกในวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2553 และถูกใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้   มีลักษณะเป็นธงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ประกอบไปด้วยสีถึง 3 สีด้วยกัน คือ พื้นสีเหลือง พื้นสีเขียว  และพื้นสีแดง  ซึ่งภายในตัวธงจะมีการแบ่งความกว้างที่เท่ากันตามแนวนอน  ซึ่งพื้นที่ด้านบนคือสีเหลือง  พื้นที่ตรงกลางคือสีเขียน และพื้นที่ส่วนล่างคือสีแดง  โดยที่ตรงกลางผืนธงจะมีรูปดาวห้าฉากสีขาวขนาดใหญ่  ส่วนในเรื่องของสีและสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนตัวธงนั้นจะสื่อความหมายต่าง ๆ ได้ดังนี้คะ

– สีเขียว ด้านบนของตัวธงนั้น  หมายถึง  สันติภาพและความสงบสุข  รวมไปถึงความอุดมสมบูรณ์ต่าง ๆ ในสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์
– สีเหลือง ในส่วนกลางของตัวธงนั้น  หมายถึง  ความสามัคคีของชาวพม่า
– สีแดง ในส่วนล่างสุดของตัวธง  หมายถึง  ความกล้าหาญ  และความเข้มแข็ง  เด็ดขาด  ที่ชาวพม่ามี
– สัญลักษณ์ดาวห้าแฉกสีขาวขนาดใหญ่ ตรงกลางผืนธงนั้น  หมายถึง  สหภาพอันมั่นคงในความเป็นเอกภาพของสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนม่าร์

 

เกร็ดความรู้

ระบบการจราจร
การจราจรในประเทศสหภาพเมียนม่าร์นั้น มีความแตกต่างจากระบบการจราจรในประเทศไทยเพราะระบบการจราจรในประเทศสหภาพเมียนม่าร์กำหนดให้ขับรถชิดเลนขวา    เพราะฉะนั้นเวลาข้ามถนนทุกครั้ง   นักท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องดูให้ดีและรอบคอบเสียก่อน  มิฉะนั้นอาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้อย่างง่ายดาย

การเข้าเขตศาสนสถาน
สำหรับการเข้าเขตศาสนสถานในสหภาพเมียนม่าร์นั้น   ชาวสหภาพเมียนม่าร์มักจะมีธรรมเนียมที่เคร่งครัดมาตั้งแต่สมัยโบราณโดยเฉพาะนักท่องเที่ยวควรเคร่งครัดในเรื่องของการแต่งกาย  โดยเฉพาะการสวมใส่เสื้อผ้าของสตรี  หากคุณแต่งกายได้ไม่ถูกต้อง  ก่อนเข้าคุณอาจจะต้องทำการเปลี่ยนเสื้อผ้าตามที่ชาวสหภาพเมียนม่าร์ได้จัดเตรียมเอาไว้ให้เปลี่ยนก่อนเข้าศาสนสถานอย่างแน่นอน    และส่วนในเรื่องของรองเท้านั้น   ก่อนเข้าศาสนสถานในสหภาพเมียนม่าร์  นักท่องเที่ยวทุกคนจำเป็นที่จะต้องถอดรองเท้าทุกชนิดออกก่อน  แม้กระทั่งถุงเท้าหรือถุงน่องก็ห้ามใส่เข้าไปอย่างเด็ดขาด  นักท่องเที่ยวทุกคนต้องเดินเท้าเปล่าเข้าไปเท่านั้น  และที่สำคัญ  ยังคงมีศาสนสถานบางแห่งที่อาจห้ามมิให้นักท่องเที่ยวสุภาพสตรีเข้าไปในเขตนั้น ๆ นักท่องเที่ยวสุภาพสตรีจึงควรระมัดระวังและควรทำความเข้าใจก่อนเข้า-ออกสถานที่ทุกสถานที่ให้ดีเสียก่อน   เพราะสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องห้ามฝ่าฝืนโดยเด็ดขาด  มิฉะนั้นคุณอาจจะถูกตักเตือนด้วยความพอใจเป็นอย่างมาก

เงินสด
หากนักท่องเที่ยวจำเป็นหรือต้องการที่จะต้องแลกเงินสด  โปรดระมัดระวังอย่างทำการแลกเงินกับชาวบ้านที่เข้ามาขอแลกเงินโดยเด็ดขาด  เพราะครั้งนั้นคุณจะต้องเสี่ยงที่จะได้รับเงินปลอมมาครอบครอง  จนทำให้คุณต้องถูกตำรวจจับอีกด้วย

การตกแต่งด้วยเครื่องประดับ
สำหรับการเดินทางเพื่อท่องเที่ยวในสหภาพพม่านั้น  นักท่องเที่ยวจำเป็นที่จะต้องระมัดระวังทรัพย์สินหรือแม้กระทั่งของมีค่าในลักษณะเครื่องประดับที่คุณควรทำการเอาติดตัวไปให้น้อยที่สุดเท่าที่จะมากได้  และของที่นำไปนั้นทางที่ดีควรเป็นของที่จำเป็นเท่านั้นจะดีเสียกว่า   เพราะในระหว่างการเดินทางเข้า – ออกสหภาพเมียนม่าร์นั้น  นักท่องเที่ยวอาจจะต้องมีการแจ้งบัญชีทรัพย์สินต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากร   และต้องทำการแสดงว่าสิ่งของที่อย่างที่นักท่องเที่ยวติดตัวไปนั้นจะต้องอยู่ครบ   เพราะถ้าหากอยู่ไม่ครบต้องเสียภาษีทันที เพราะศุลกากรพม่าจะถือว่านำไปขายต่อให้กับชาวสหภาพเมียนม่าร์