ระบบสมาชิก
ทดสอบเมนู
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
วันนี้ 25
เมื่อวานนี้ 6
เดือนนี้ 42
เดือนที่แล้ว 211
ปีนี้ 860
ปีที่แล้ว 1,991

ประเทศไทย (Thailand)

ธงชาติไทย, ธงประเทศไทย

ความเป็นมาของธงชาติ ราชอาณาจักรไทย (Kingdom of Thailand)

รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
สำหรับธงชาติไทยนั้นตามประวัติศาสตร์แล้วเกิดขึ้นตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ปรากฏเป็นที่ชัดเจน  แต่หลักฐานบางส่วนเท่าพบได้นั้นสื่อให้เชื่อว่า  ธงชาติไทยน่าจะเกิดขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  เนื่องจากในหนังสือจดหมายเหตุของประเทศฝรั่งนั้นได้กล่าวไว้ว่า  เมื่อวันที่ 3 กันยายน ปีพ.ศ. 2223  เรือรบ เลอรโวตร์  ของประเทศฝรั่งเศส  ได้นำเรือเข้ามาถึงปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อเจริญพระราชไมตรีและทำการค้า  นายเรือมองซิเออร์  คอนแอน  จึงถามชาวกรุงศรีอยุธยาว่า  ถ้าหากเรือจากประเทศฝรั่งเศสจะยิงปืนให้ความเคารพแก่สยาม  เมื่อเรือได้ผ่านป้อมวิชัยสิทธิ์ในปัจจุบัน  ตามประเพณีของชาวยุโรป  ทางกรุงศรีอยุธยาจะขัดข้องหรือไม่  เมื่อสมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบเรื่อง  จึงทรงอนุญาตและรับสั่งให้เจ้าเองบางกอก  ออกพระศักดิ์สงคราม  ให้ทางป้อมยิงปืนตอบกลับด้วย  และเมื่อเรือรบฝรั่งเศสทำการยิงปืนให้นั้น  ทางป้อมก็ได้มีการชัดธงชาติฮอลันดาขึ้น   เพราะในเวลานั้นธงชาติประเทศสยามยังไม่มี  แต่เมื่อฝรั่งเศสเห็นว่าไม่ใช่ธงของชาติสยาม  จึงไม่ทำการยิงปืนและแจ้งให้ทราบว่า  หากสยามประเทศประสงค์ที่จะให้ประเทศฝรั่งเศสยิงปืนให้  ก็เอาธงของฮอลันดาลงเสีย  แล้วชักธงอย่างใดอย่างหนึ่งในสยามขึ้นแทน  เผอิญในสมัยนั้นธงสีแดงถือเป็นธงที่สยามใช้สำหรับนำทัพ   สยามจึงนำธงสีแดงชักขึ้น  ฝรั่งเศสเห็นจึงทำการยิงปืนให้  ด้วยเหตุนี้สยามประเทศจึงนำเอาธงสีแดงเป็นธงชาติสยามในเวลาต่อมา

คราวสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์
ธงสีแดงก็ยังคงเป็นธงเพื่อแสดงเครื่องหมายประจำเรือการค้าขายกับต่างประเทศอยู่  โดยที่ธงสีแดงนี้จะถูกชัดขึ้นทั้งในเรือหลวงและเรือราษฎร  จนกระทั่งในเวลาต่อมา  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  (รัชกาลที่ 1 )  ทรงอยากให้เรือหลวงกับเรือราษฎรมีเครื่องหมายที่แตกต่างกัน  จึงพระบรมราชโองการให้ทำรูป  “จักรสีขาว”  ติดไว้ตรงกลางของธงสีแดงเพื่อเป็นเครื่องหมายที่ใช้เฉพาะเรือหลวงเป็นต้นมา

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2 )
ในช่วงปี พ.ศ. 2360 – 2366  ประเทศอังกฤษได้เข้ามาตั้งสถานีการค้าขายอยู่ที่ประเทศสิงคโปร์  พระบางสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างเรือกำปั่นของหลวงขึ้นถึง 2 ลำเพื่อล่องค้าขาย  โดยที่เรืองหลวงทั้งสองลำนี้จะมีการชักธงแดงตามธรรมเนียมที่ปฏิบัติกันมา  ในวันหนึ่งประเทศอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าเมืองสิงคโปร์ได้บอกกับนายเรือหลวงของสยาม  ให้มากราบบังคมทูลพระเจ้ากรุงสยามว่า  “เรือเดินทะเลชาวมลายูที่ค้าขายกับสิงคโปร์ก็ชักธงสีแดงขึ้นเหมือนกัน  เพราะฉะนั้นจึงขอให้พระเจ้ากรุงสยามใช้ธงอย่างอื่นเสีย  เพื่อจะได้จักการรับรองเรือหลวงได้สะดวกและไม่สับสน”   และในช่วงนั้น  พระองค์ทรงได้ช้างเผือกเอกมาสู่พระบารมีถึง 3 ช้าง  คือ พระเศวตกุญชร  พระยาเศวตไอยรา  และพระยาเศวตคชลักษณ์  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ทำรูปช้างสีขาวยืนพื้นอยู่ในวงจักรสีขาว  ติดไว้ตรงกลางธงพื้นสีแดง  ซึ่งมีความหมายว่า  “พระเจ้าแผ่นดินผู้มีช้างเผือก”  โดยธงรูปแบบนี้ได้ถูกนำมาใช้จนถึงรัชกาลที่ 3

รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 4)
สยามได้มีการทำหนังสือสัญญาเพื่อเปิดการค้าขายกับชาวตะวันตกมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้มีเรือสินค้าของประเทศต่าง ๆ เข้ามาค้าขายอย่างมากมาย   พร้อมทั้งในช่วงนั้นมีสถานกงสุลตั้งอยู่ในพระนคร   ซึ่งทำให้มีการชักธงชาติของประเทศตนเองขึ้นเป็นสำคัญ  ดังนั้นจึงทำให้ประเทศสยามจะต้องมีธงชาติเป็นของตัวเองในรูปแบบที่แน่นอน   พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  จึงทรงพระราชดำริว่า  ธงสีแดงซึ่งเป็นธงที่ใช้กับเรือของสามัญชนชาวสยาม  มีรูปแบบที่ซ้ำกับประเทศอื่น  ทำให้ยากต่อการแยกแยะจึงสมควรที่จะยกเลิกให้ใช้เสีย   พร้อมทั้งพระองค์ยังให้หันมาใช้ธงอย่างเรือหลวงเป็นธงชาติสยามแทน  แต่มีการโปรดเกล้าให้เอารูปวงจักรสีขาวออก  เพราะถือได้ว่าเป็นของสูงซึ่งเป็นเครื่องหมายเฉพาะของพระเจ้าแผ่นดินเท่านั้น   แต่มีการปรับขนาดช้างเผือกให้ใหญ่ขึ้นอีก  โดยในช่วงแรกเป็นแบบช้างเผือกยืนพื้น  และในเวลาต่อมามีการปรับช้างให้เป็นแบบช้างเผือกปล่อย

ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 5)
ในช่วงนี้ได้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยามเป็นครั้งแรก  ซึ่งตรงกับรัตนโกสินทร์ศก 110  ต่อมาคือพระราชบัญญัติธงสยาม  รัตนโกสินทร์ศก 116  และพระราชบัญญัติธงสยาม  รัตนโกสินทร์ศก 118  โดยทุกฉบับได้ปรากฏลักษณะของธงชาติสยามเป็นแบบธงพื้นสีแดง  และตรงกลางธงมีรูปช้างเผือกสีขาวปล่อยและหันหาเข้าหาเสาอย่างชัดเจน

ช่วงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  (รัชกาลที่ 6)
ในช่วงนี้ได้มีการออกประกาศเพิ่มเติมและทำการแก้ไขพระราชบัญญัติรัตนโกสินทร์ศก 129  ตามมาตรา 4 ข้อ 15  โดยแก้ไขในส่วนลักษณะของธงชาติให้เป็นพื้นสีแดงเช่นเดิม  ส่วนตรงกลางธงเป็นรูปช้างเผือกทรงเครื่องยืนอยู่บนแท่น  และหันหน้าเข้าเสา  ธงนี้ให้เป็นธงสำหรับราชการ  ได้มีการประกาศขึ้นในวันที่ 21 พฤศจิกายน  พุทธศักราช 2459  ธงรูปแบบนี้ซึ่งถือเป็นธงช้างรูปสุดท้ายของธงชาติในสมัยรัตนโกสินทร์

ในช่วงปี พ.ศ. 2459
ในช่วงท้ายของปีพ.ศ. 2459  พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ทรงมีพระราชดำริให้มีการยกเลิกการใช้ธงชาติแบบช้างเผือกทรงเครื่องที่ยืนอยู่บนแท่น  และทำการหันหน้าเข้าเสา  โดยให้เปลี่ยนธงช้างมาเป็นธงแถบสีแทน   เพราะทรงเห็นความยากลำบากของราษฎรที่ต้องทนสั่งซื้อธงช้างมาจากต่างประเทศ  และในบางครั้งก็มีการติดธงชาติที่ผิดพลาดโดยการนำเอาขาช้างชี้ขึ้นจนกลายเป็นน่าละอาย  และเมื่อมีการปรับเปลี่ยนธงให้เป็นธงแถบสีแล้ว  ราษฎรก็สามารถที่จะทำธงขึ้นเองได้  ซึ่งจะช่วยขจัดปัญหาการติดที่ผิดพลาดอีกด้วย  การปรับเปลี่ยนธงให้เป็นธงแถบสีในครั้งนี้  พระองค์ได้ทรงทดลองใช้ธงชาติไทยในรูปแบบริ้วขาวแดงห้าริ้ว  ซึ่งติดอยู่ที่สนามเสือป่าในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  แต่เนื่องจากมองดูแล้วไม่สง่างาม  จึงได้มีการปรับเปลี่ยนแถบตรงกลาง  จากสีแดงให้เป็นสีน้ำเงินขาบ  การเพิ่มสีน้ำเงินนี้  ได้ปรากฏอยู่ในพระราชหัตถเลขาในการบันทึกส่วนพระองค์  ในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของอะแคว์ริส   และได้ทรงทดลองวาดภาพธงสามสีลงในบันทึก   พระองค์ทรงเห็นว่ามีลักษณะที่งดงามดีกว่าธงริ้วขาวแดงที่ใช้อยู่  และต่อมาเมื่อเจ้าพระยารามราฆพ (ในช่วงขณะนั้นยังคงเป็นพระยาประสิทธิศุภาการ)  ได้ไปเข้าเฝ้าสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ  และได้นำแบบธงไปถวายเพื่อทูลขอความคิดเห็น  สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานาถก็ทรงเห็นชอบด้วยกับธงในลักษณะแบบนี้ และรับสั่งว่าถ้าเปลี่ยนในขณะนั้นจะได้เป็นอนุสรณ์ในการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ ๑ ด้วย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้พระยาศรีภูริปรีชา ร่างประกาศแก้แบบธงชาติสยาม และได้ทรงนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะเสนาบดีเพื่อฟังความเห็น ที่ประชุมลงมติเห็นชอบธงสามสีตามแบบที่คิดขึ้นใหม่

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติธงขึ้นเรียกว่า พระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช ๒๔๖๐ ออกประกาศเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๐ มีผลบังคับใช้ภายหลังวันออกประกาศในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว ๓๐ วัน ซึ่งต่อมาธงสยามแบบล่าสุดนี้ถูกเรียกว่า “ธงไตรรงค์”

ลักษณะและความหมายของธงชาติราชอาณาจักรไทย
ธงชาติของราชอาณาจักรไทย  หรือ “ธงไตรรงค์”  นั้นถือได้ว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทยหรือชาติไทยซึ่งธงชาติจะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ และศักดิ์ศรีในความเป็นไทย  โดยธงชาติไทยหรือธงไตรรงค์นี้ จะมีลักษณะเป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ภายในผืนธงจะประกอบไปด้วยสีหลักถึง 3 สีด้วยกัน ซึ่งได้แก่ สีแดง สีขาวและสีน้ำเงิน โดยภายในผืนธงจะถูกแบ่งออกเป็น 5 แถบสี  ซึ่งแถบในสุดคือพื้นสีน้ำเงิน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าแถบสีขาวและสีแดงเป็น 2 เท่า  ส่วนแถบถัดมาด้านนอกทั้งด้านบนและล่างเป็นพื้นสีขาวและพื้นสีแดงตามลำดับ สำหรับที่มาของชื่อธงที่ชื่อว่าธงไตรรงค์นั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระราชนิพนธ์ “เครื่องหมายแห่งไตรรงค์” โดยคำว่าไตรรงค์(ไตร = สาม, รงค์ = สี) มาจากสีทั้ง 3 สีบนผืนธงชาติ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์เมื่อ พ.ศ. 2464 ได้นิยามความหมายของธงไตรรงค์ไว้ว่า

พื้นธงสีแดง หมายถึง เลือดอันยอมพลีให้แก่ชาติ
พื้นธงสีขาว หมายถึง ความบริสุทธิ์แห่งพระพุทธศาสนาและธรรมะ
พื้นธงสีน้ำเงิน หมายถึง สีส่วนพระองค์ขององค์พระมหากษัตริย์

แม้นิยามดังกล่าวจะไม่ใช่คำอธิบายที่ทรงประกาศให้ใช้อย่างเป็นทางการ แต่ทั้งสามสิ่งนี้คืออุดมการณ์รัฐที่พระองค์ทรงปลูกฝัง เพื่อให้คนไทยเกิดสำนึกความเป็นชาตินิยมมาตลอดรัชสมัยของพระองค์ และความหมายของธงไตรรงค์นี้ก็ยังคงมีความหมายเดิมจวบจนมาถึงในปัจจุบันนี้

เกร็ดความรู้

สำหรับข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับวัฒนธรรม ประเพณีความเชื่อ ศาสนาและสิ่งที่ควรเคารพนับถือสูงสุดของไทย ถือได้ว่าเป็นข้อมูลที่ดีที่สุดพร้อมทั้งเป็นเกร็ดความรู้ที่จะสามารถสร้างประโยชน์ให้กับทุกๆ คนไม่ว่าจะเป็นชาติใดก็ตามที่อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรไทย ดังนี้

สถาบันพระมหากษัตริย์
สำหรับในราชอาณาจักรไทย  สถาบันพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นที่เคารพสักการะอย่างยิ่ง เพราะฉะนั้นการแสดงความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ย่อมเป็นสิ่งที่พึงปฏิบัติ  โดยเฉพาะเมื่อได้ยินเสียงเพลงบรรเลงสรรเสริญพระบารมีเมื่อใด การยืนถวายความเคารพระหว่างเพลงบรรเลงสรรเสริญพระบารมีจึงถือได้ว่าเป็นการให้ความเคารพต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ถูกต้อง และถ้าหากต้องการเข้าไปในพระราชฐานควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยที่สุด โดยเฉพาะห้ามสวมเสื้อไม่มีแขนหรือแขนกุด กางเกงขาสั้น หรือรองเท้าแตะเด็ดขาด และถ้าหากมีการละเมิดใดๆ ไม่ว่าจะด้วยสถานการณ์ใดก็ตามถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดตามรัฐธรรมนูญ

ศาสนา
ราชอาณาจักรไทย มีศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติ และยังคงมีศาสนาอื่นๆ ด้วย  ในกรณีศาสนาอื่น ให้พึงปฏิบัติตามประเพณีของศาสนานั้นๆ แทน แต่สำหรับชาวพุทธ  เมื่อไปวัดในพุทธศาสนาควรที่จะแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อยและมีความเหมาะสม เมื่อจะเข้าอุโบสถและโบสถ์ หรือสถานที่บริเวณที่มีป้ายแสดงว่าให้ถอดรองเท้าก่อนเข้า ก็ควรที่จะถอดรองเท้าก่อนเข้าเสมอ

-พระพุทธรูปและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พร้อมทั้งมีความเชื่อถือว่าเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า จึงถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ควรเคารพสูงสุดอย่างหนึ่งในพระพุทธศาสนา และถูกจัดสร้างขึ้นเพื่อทำการสักการบูชาเท่านั้น การนำพระพุทธรูปออกนอกเขตราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงถือว่ากระทำการผิดกฎหมาย หากผู้ใดฝ่าฝืนจะต้องโทษตามกฎหมายกำหนด และในการสักการบูชานั้นควรวางพระพุทธรูปไว้ในที่สูงและมีความเหมาะสมเท่านั้น นอกจากนี้การปืนป่าย นั่ง หรือทำการพิงพระพุทธรูปไม่ว่าจะองค์จริงหรือองค์จำลอง  ถือได้ว่าการกระทำเหล่านี้เป็นการกระทำที่แสดงถึงความเคารพวัตถุทางศาสานาพุทธ หากต้องการถ่ายรูปกับพระพุทธรูปองค์ใด ก็ควรที่จะอยู่ในกริยาที่สงบ มีความเหมาะสมและให้ความเคารพต่อพระพุทธรูปองค์นั้น

– การกระทำใดๆ ก็ตามที่เปรียบเสมือนเป็นการกระทำที่เหยียดหยามศาสนาหรือสิ่งที่ควรเคารพนับถือในสถานที่ต่างๆ การกระทำนั้นย่อมเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายด้วยเช่นเดียวกัน มีโทษจำคุกตั้งแต่ 1–7 ปี

– พระสงฆ์เป็นนักบวชในศาสนาพุทธ มีกฎข้อห้ามของสงฆ์ ที่ห้ามไม่ให้สัมผัสหรือใกล้ชิดกับสตรี หากต้องรับสิ่งของใดๆ จากพระสงฆ์ สตรีควรรอให้พระสงฆ์วางของสิ่งนั้นเสียก่อนแล้วจึงทำการหยิบสิ่งของนั้นมาได้เท่านั้น

-ผู้ใดที่กระทำความผิดด้วยการหลอกลวง เนื่องจากมีการแต่งกายและแสดงตนว่าเป็นนักบวชในศาสนาพุทธ  ทั้งๆที่ตนเองมิได้เป็นนักบวชที่แท้จริงแต่อย่างใด การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดตามกฎหมายอาญา จะต้องถูกระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี

ขนบธรรมเนียมประเพณีของสังคมไทย
– ชาวไทยมีขนบธรรมเนียมประเพณีในเรื่องของการการทักทาย  จำเป็นที่จะต้องทักทายกันด้วยการยกมือไหว้อย่างนอบน้อม

– การแสดงความรู้สึกนึกคิดทางเพศอย่างเปิดเผยในพื้นที่สาธารณะชน  ถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรพึงกระทำเป็นอย่างยิ่ง  เพราะเป็นสิ่งที่ไม่ได้รับการยอมรับในวัฒนธรรมไทยแต่อย่างใด

– ธงชาติไทยหากมีการบรรจุลงหีบห่อ ที่มีลักษณะเป็นการเหยียดหยามจะกระทำได้เฉพาะโดยหน่วยงานของรัฐหรือราชการเท่านั้น  หรือแม้กระทั่งเป็นการกระทำทางการพาณิชย์โดยได้รับความเห็นชอบจากราชการอย่างถูกต้องแล้วตามกฎหมายเรื่องธงชาติเท่านั้น

– ประเพณีและวัฒนธรรมไทยต่าง ๆ เป็นสิ่งที่ควรพึงปฏิบัติและสืบทอดที่ดีงามและแสดงออกถึงความปรารถนาดีด้วยเจตนาที่บริสุทธิ์เท่านั้น

– ชาวไทยถือได้ว่า ศีรษะเป็นของสูง จึงไม่ควรที่จะแตะต้องศีรษะของผู้ใด หากผิดพลาดด้วยความบังเอิญควรกล่าวคำขอโทษอย่างรวดเร็วจะดีที่สุด

– ชาวไทยถือว่า เท้าเป็นของต่ำสุด จึงไม่ควรที่จะแสดงกิริยาท่าทางด้วยการยกเท้าพาดบนโต๊ะเก้าอี้ หรือใช้เท้าชี้ไปทางคนหรือสิ่งของต่างๆ เพราะถือได้ว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสมยิ่ง