ระบบสมาชิก
ทดสอบเมนู
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
วันนี้ 1
เมื่อวานนี้ 6
เดือนนี้ 42
เดือนที่แล้ว 211
ปีนี้ 860
ปีที่แล้ว 1,991

ประเทศฟิลิปปินส์ (Philippines)

ธงฟิลิปปินส์, ธงชาติฟิลิปปินส์

ความเป็นมาของธงชาติ  ประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์    (Republic of the Philippines)

จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ได้กล่าวถึงประวัติความเป็นมาของธงชาติประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์นั้น  ในช่วงตั้งแต่คริสต์ทศวรรษที่ 1960 ได้มีปรากฏถึงการพัฒนาของธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ว่ามีต้นกำเนิดมาจากธงประจำกองกำลังของผู้นำในสมาคมคาติปูนัน  ซึ่งถือได้ว่าเป็นองค์กรปฏิวัติโดยมีจุดมุ่งหมายในการต่อต้านอำนาจทางการปกครองของประเทศสเปน  และทำการชี้นำการปฏิวัติประเทศฟิลิปปินส์  แต่ถึงอย่างไรก็ตามยังไม่สามารถมีข้อสรุปได้ว่าธงประจำกองกำลังเหล่านี้  สมควรที่จะถือเป็นต้นกำเนินของธงชาติฟิลิปปินส์หรือไม่อย่างไร  โดยที่ธงแบบแรกของสมาคมคาติปูนันนั้น  เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าสีแดง และมีตัวอักษร “ K” สีขาวเรียงตัวกันตามแนวนอนด้วยกัน 3 ตัว อักษรนี้เป็นอักษรย่อจากชื่อเต็มของสมาคมคาติปูนันในภาษาตากาล็อก  ซึ่งมีความหมายที่แปลว่า  สมาคมสูงสุดและอันเป็นที่นับถือแห่งบุตรของชาติ  ส่วนผืนธงที่มีสีแดง หมายถึง เลือด เนื่องจากสมาชิกของคาติปูนันได้ลงนามในเอกสารยืนยันความเป็นสมาชิกกลุ่มด้วยเลือดของตนเองนั่นเอง

แต่ถึงอย่างไร ผู้นำหลากหลายคนในคาติปูนันก็ยังคงมีธงประจำกองกำลังของแต่ละคนเป็นของตนเอง  โดยที่องค์การคาติปูนันในจังหวัดคาวิเต 2 กลุ่ม ซึ่งได้แก่ กลุ่มมักดิวัง และ กลุ่มมักดาโล   องค์การ 2 กลุ่มนี้ได้มีการกำหนดรูปแบบธงของกลุ่มขึ้น  โดยทั้งสองกลุ่มนี้จะมีการออกแบบธงให้โดยใช้พื้นสีแดง และมีรูปตะวันเป็นสีขาว  แต่ทั้งสองกลุ่มนี้จะไม่ได้ใช้อักษรย่อ “K” ที่ใจกลางดวงตะวันตามชื่อสมาคม  แต่สมาคมเหล่านั้นกลับใช้อักษรที่ออกเสียงว่า “คา” ในระบบการเขียนบายบายอิน ซึ่งเป็นระบบการเขียนในก่อนยุคที่ประเทศสเปนจะทำการปกครอง  และในที่สุด สมาคมคาติปูนันก็ได้มีการกำหนดรูปแบบธงขึ้นใหม่ในปี ค.ศ. 1897 ระหว่างการประชุมสมาชิกครั้งหนึ่งในเมืองนาอิก  รูปแบบธงแบบใหม่นี้  จะเป็นมีพื้นธงเป็นสีแดง  มีรูปดวงอาทิตย์ปรากฏใบหน้ามนุษย์สีขาว  ส่วนในรูปดังกล่าวนั้นจะมีรัศมีถึง 8 แฉกด้วยกัน  ซึ่งสื่อความหมายถึง  จังหวัดทั้งแปดจังหวัด  ซึ่งประเทศสเปนได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกเพื่อทำการปราบปรามผู้ที่ก่อการกบฏในช่วงนั้น

ส่วนธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ในรูปแบบสมัยใหม่  เอมีลีโอ  อากีนัลโด  ผู้ซึ่งเป็นประธานาธิบดีคนแรกแห่งสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 1 ได้กำหนดแนวคิดและทำการออกแบบธงชาตินี้  เมื่อค.ศ.1897 และในระยะเวลาต่อมา  มาร์เซ ลา มารีโญ เด อากอนซีญา  เป็นผู้ลงมือเย็บธงชาติในรูปแบบสมัยใหม่นี้ขึ้นมา พร้อมทั้งลูกสาวของเธอ ลอเรนซา  และหลานสาวของโฮเซ รีซัล  คอยเป็นผู้ช่วยในการเย็บธงชาติในครั้งนี้

จนกระทั่งในเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 1898  ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ได้ถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาอย่างเป็นทางการระหว่างพิธีประกาศเอกราชของประเทศ ที่เมืองคาวิต จังหวัดคาวีเต  สำหรับในส่วนความหมายดั้งเดิมของธงชาตินั้น  ได้มีการแจกแจงไว้โดยละเอียดในเนื้อความของคำประกาศอิสระภาพ  แม้จะไม่ปรากฏและถูกบันทึกไว้ว่ามีแบบร่างดังกล่าวปรากฏอยู่จริง  ทั้งนี้  ในแบบดั้งเดิมของธงชาติ  จึงได้มีการยอมรับการใช้รูปดวงอาทิตย์มีรูปใบหน้ามนุษย์  ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของดวงอาทิตย์ในเชิงเทววิทยา  แหล่งข้อมูลต่าง ๆ มีการกล่าวในลักษณะที่ขัดแย้งกัน  ค้านว่าสีธงชาติที่แท้จริงของแบบดั้งเดิมนั้น  ควรที่จะเป็นสีแดงและสีน้ำเงินแบบเดียวกับที่ใช้ในธงชาติคิวบา  โดยมีการอ้างอิงจากหลักฐานในเชิงเกร็ดประวัติศาสตร์ที่มี

และเมื่อถึงคราวในช่วงที่ประเทศฟิลิปปินส์เกิดการแตกแยกกันกับประเทศสหรัฐอเมริกาในปี ค.ศ. 1899 ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์จึงมีลักษณะที่กลับเอาสีแดงขึ้นด้านบนเป็นครั้งแรก  เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1899 การใช้ลักษณะธงชาติในรูปแบบนี้เพื่อเป็นการประกาศว่า  ประเทศฟิลิปปินส์ได้เข้าสู่สภาวะสงคราม  และผลของสงครามจบลงด้วยการที่ประธานาธิบดี เอมีลีโอ  อากีนัลโด  ถูกฝ่ายประเทศสหรัฐอเมริกาจับเป็นเชลย  และมีการถูกบังคับให้สาบานว่าจะจงรักภันดีต่อประเทศสหรัฐอเมริกาในอีกสองปีต่อมา  หลังจากนั้นประเทศฟิลิปปินส์ก็ถูกปกครองด้วยระบบอาณานิคมของประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นต้นมา  และมีการแสดงให้เห็นว่าธงชาติของประเทศฟิลิปปินส์เป็นธงชาติที่ผิดกฎหมายตามรัฐบัญญัติว่าด้วยการต่อต้านของรัฐบาลในค.ศ.1907  ทำให้ในประเทศมีการขายผ้าสีแดงและสีน้ำเงินเสียส่วนใหญ่  เพราะตามแบบอย่างของธงชาติประเทศสหรัฐอเมริกา   และกฎหมายนี้ได้ถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม ค.ศ. 1919  จึงทำให้มีการอนุญาตให้ใช้ธงชาติฟิลิปปินส์ได้ดังเดิมในเวลาต่อมา  ทำให้ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์นับตั้งแต่ ค.ศ.1919 เป็นต้นมา มีลักษณะเป็นสีแดงและสีน้ำเงินตามแบบธงชาติสหรัฐอเมริกา     และในวันที่ 26 มีนาคม ค.ศ. 1920 ประเทศฟิลิปปินส์ได้มีการประกาศใช้ธงนี้อย่างเป็นทางการสำหรับหมู่เกาะฟิลิปปินส์ทั้งหมด  และมีการฉลองวันธงชาติเป็นประจำในวันที่ 30 ตุลาคมของทุกปี  ซึ่งเป็นวันที่มีการยกเลิกกฎหมายที่ห้ามใช้ธงชาติของประเทศฟิลิปปินส์  การฉลองวันธงชาติจึงมีขึ้นในช่วงระยะเวลานั้นจนถึงช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2  ต่อมาในปี ค.ศ. 1941 ได้มีการย้ายวันธงชาติอย่างเป็นทางการจากวันที่ 30 ตุลาคม มาเป็นวันที่ 12 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันที่ฟิลิปปินส์ประกาศเอกราชครั้งแรกจากสเปนในปี ค.ศ. 1898

จวบจนกระทั่งใน ค.ศ. 1941 ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ได้ถูกห้ามใช้อีกครั้ง  เมื่อถึงคราวที่ประเทศญี่ปุ่นเข้ามารุกรานและยึดครองหมู่เกาะฟิลิปปินส์   และมีการชักธงชาติขึ้นสู่ยอดเสาอีกครั้งพร้อมกับการสถาปนาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ที่ 2 ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1943  ซึ่งประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ให้การสนับสนุน โดยมีอดีตประธานาธิบดีเอมิลีโอ อากีนัลโด  ได้ชักธงชาติซึ่งใช้สีเลียนแบบธงชาติคิวบาขึ้นอีกครั้ง  โดยมีสีฟ้าอยู่ด้านบนตามปกติ  หลังจากนั้นประเทศฟิลิปปินส์ก็ถูกประเทศญี่ปุ่นรุกรานอีกครั้งหลังจาก ค.ศ. 1944  จนกระทั่งมีการปลดปล่อยประเทศฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1945 จึงทำให้ธงชาติประเทศฟิลิปปินส์ตามแบบสีธงชาติของประเทศอเมริกาได้ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งบนแผ่นดินประเทศฟิลิปปินส์อย่างเป็นทางการ  และธงชาติในรูปแบบนี้เองคือธงชาติที่ได้ถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1946  ในพิธีส่งมอบเอกราชจากประเทศสหรัฐอเมริกา  กลับเข้าสู่ความเป็นเอกราชที่ถาวรของประเทศฟิลิปปินส์นั่นเอง

ลักษณะและความหมายของธงชาติ  สาธารณรัฐฟิลิปปินส์    (Republic of the Philippines)

ธงชาติสาธารณรัฐฟิลิปปินส์  เป็นธงสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบ่งตามยาว  ธงจะมีความยาวเป็นสองเท่าของความกว้างธง ซึ่งเมื่อแปลงเป็นอัตราส่วนจะเท่ากับ 1:2  ตัวธงจะมีการแบ่งครึ่งของผืนธง   โดยที่ครึ่งบนเป็นพื้นสีน้ำเงิน ครึ่งล่างเป็นพื้นสีแดง   และถ้าหากแถบทั้งสองสีนี้สลับตำแหน่งกัน คือ แถบสีแดงอยู่บน แถบสีน้ำเงินอยู่ตอนล่าง แสดงว่าประเทศฟิลิปปินส์อยู่ในภาวะสงคราม    ส่วนความยาวของรูปสามเหลี่ยมสีขาวแต่ละด้านเท่ากับความยาวของด้านกว้างของธง ส่วนรูปดาวห้าแฉก 3 ดวง แต่ละดวงนั้นอยู่ในตำแหน่งมุมของรูปสามเหลี่ยม โดยที่จุดยอดของรูปดาวนั้นชี้เข้าหาจุดยอดมุมของรูปสามเหลี่ยมแต่ละมุมนั้น  ภายในมีรูปดวงอาทิตย์รัศมีสีทอง 8 แฉก   ในส่วนของสัญลักษณ์และสีต่าง ๆ บนผืนธงมีรายละเอียดดังนี้

สัญลักษณ์รูปดวงอาทิตย์มีรัศมีแปดแฉก หมายถึง แปดจังหวัดแรกของประเทศฟิลิปปินส์  ซึ่งได้แก่  จังหวัดบาตังกาส  จังหวัดบูลาคัน  จังหวัดคาวิตเต  จังหวัดลากูนา  จังหวัดมะนิลา  จังหวัดนูเอวา  เอคิยา  จังหวัดปัมปังกา  และสุดท้ายคือจังหวัดตาร์ลัค   ซึ่งจังหวัดทั้ง 8 นี้พยายามเรียกร้องเอกราชจากประเทศสเปน  และฝ่ายประเทศสเปนได้บังคับใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ทั้ง 8 จังหวัดในเหตุการณ์ การปฏิวัติประเทศฟิลิปปินส์ในปี พ.ศ. 2439
สัญลักษณ์ดาว 3 แฉก หมายถึง การแบ่งพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ของประเทศฟิลิปปินส์ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน  ซึ่งได้แก่  เกาะลูซอน  เกาะมินดาเนา  และสุดท้ายคือหมู่เกาะวิสายัน
สามเหลี่ยมสีขาวบนผืนธง หมายถึง เครื่องหมายเพื่อแสดงความเสมอภาคและภราดรภาพของประเทศฟิลิปปินส์
พื้นสีน้ำเงินบนตัวธง หมายถึง ความมีสันติภาพ สัจจะ และความยุติธรรมในประเทศฟิลิปปินส์

เกร็ดความรู้

สิ่งที่ควรและไม่ควรกระทำในการติดต่อทางด้านธุรกิจในประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์

ในเรื่องของการแต่งกายเพื่อเจรจาหรือติดต่อธุรกิจกับประเทศฟิลิปปินส์     ควรมีการแต่งกายที่มีความเหมาะสมมีดังนี้

สำหรับผู้ชาย  

ควรแต่งกายโดยการใส่เสื้อแขนยาวผูกไท  เพราะการแต่งกายแบบนี้กลับเป็นที่ยอมรับสำหรับการประชุมทางด้านธุรกิจ  โดยเฉพาะเมื่อได้มีการประชุมกับนักธุรกิจฟิลิปปินส์เชื่อสายจีน  ส่วนชุดสูทจะเหมาะสมกับการเข้าประชุมที่เป็นทางการกับระดับกลุ่มผู้บริหาร   หรืออาจจะเป็นการสังสรรค์ในการเข้าร่วมงานเลี้ยง อาหารค่ำในวาระต่าง ๆ

สำหรับผู้หญิง

ในการประชุมทางด้านธุรกิจ  ผู้หญิงควรแต่งกายประเภทกระโปรงกับเสื้อหรือกางเกงกับเสื้อ  (Smart casual)  หรืออาจจะเป็นอีกประเภทหนึ่งอย่างกระโปรงชุดหรือชุดเสื้อกางเกง  พร้อมสูท  (western style business)

ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร

การเจรจาหรือทำการติดต่อสื่อสารทางด้านธุรกิจกับประเทศฟิลิปปินส์นั้น  จำเป็นที่จะต้องคำนึงถึงการใช้ภาษา  ซึ่งแต่ละประเทศก็ย่อมมีภาษาที่แตกต่างกันออกไป  แต่ถึงอย่างไรภาษาอังกฤษก็ถือได้ว่าเป็นภาษาสากลระดับโลก  และภาษาอังกฤษก็เป็นภาษาที่สองที่ประเทศฟิลิปปินส์ใช้เป็นภาษาในการติดต่อสื่อสารและเจรจาทางด้านธุรกิจกับประเทศต่าง ๆ เพราะส่วนใหญ่แล้วชาวฟิลิปปินส์สามารถเขียนและอ่านภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี

การเรียกชื่อ – นามสกุล

เมื่อนักธุรกิจเข้าไปพบปะนักธุรกิจชาวฟิลิปปินส์    สำหรับชาวฟิลิปปินส์นั้น   การพบปะในครั้งแรก ๆอาจจะยังเป็นการพบปะที่ไม่คุ้นเคยทั้งสองฝ่าย  เพราะฉะนั้น  จำเป็นที่จะต้องเรียกนามสกุลของผู้นั้นก่อน  หลังจากนั้น ต่อเมื่อได้พูดคุยและทำความรู้จักจนคุ้นเคยกันแล้ว   จึงสามารถเรียกชื่อตัวได้  อย่างเช่น     Miss. Jonny  lovely     เมื่อพบกันครั้งแรก  ต้องเรียกชื่อเฉพาะ  Miss. lovely  ต่อเมื่อสนิทกันแล้วจึงเรียก  “ joy ” ได้