ระบบสมาชิก
ทดสอบเมนู
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
วันนี้ 3
เมื่อวานนี้ 6
เดือนนี้ 42
เดือนที่แล้ว 211
ปีนี้ 860
ปีที่แล้ว 1,991

ค่าแรงขั้นต่ำไทย หากเทียบกับประเทศอาเซียน

โพสโดย admin | 18 ส.ค. 2560 , 01:12 น.


เนื่องในวันแรงงาน วอยซ์ทีวีรวบรวมข้อมูลค่าแรงขั้นต่ำใน 10 ประเทศอาเซียน มาเปรียบเทียบกัน เพื่อดูว่าหากไทยขึ้นค่าแรงเป็นวันละ 410 บาท เราจะยังแข่งขันกับเพื่อนบ้านได้หรือไม่ ในยุคที่แรงงานเคลื่อนย้ายอย่างเสรีในประชาคมอาเซียน 

กระทรวงแรงงานฟิลิปปินส์ รวบรวมข้อมูลสถิติค่าแรงขั้นต่ำของประเทศต่างๆในอาเซียน โดยเป็นข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 31 มกราคม 2017 โดยพบว่าเมียนมามีค่าแรงถูกที่สุดในกลุ่มประเทศอาเซียน คือวันละ 90 บาทเท่านั้น แม้เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา จะมีการตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษเพื่อปฏิรูปค่าแรงในประเทศโดยเฉพาะ แต่ก็ยังไม่มีความคืบหน้าใดๆ

ประเทศที่ค่าแรงถูกรองลงมา ก็คือลาว ที่มีอัตราค่าแรงขั้นต่ำ 125 บาทต่อวัน แม้ลาวจะเป็นประเทศที่ค่าครองชีพต่ำ แต่ค่าแรงระดับนี้ก็คือว่าไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ ทำให้แรงงานจำนวนมากอพยพเข้ามาหางานทำในไทย เช่นเดียวกับในกัมพูชา ที่ค่าแรงขั้นต่ำอยู่ที่วันละ 162 บาท ทำให้ประชาชนมี 2 ทางเลือก หากไม่อพยพไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ก็ต้องทำงานหลายแห่งในเวลาเดียวกัน เพื่อให้มีรายได้พอเลี้ยงชีพ ส่วนค่าแรงขั้นต่ำในเวียดนาม ใกล้เคียงกับกัมพูชา อยู่ที่ 156-173 บาท  

 

ฟิลิปปินส์เป็นหนึ่งในประเทศที่ค่าแรงแพงที่สุดในอาเซียน อยู่ที่ 197-341 บาท แล้วแต่ภูมิภาค ส่วนอินโดนีเซียก็มีค่าแรงแตกต่างกันไปในแต่ละรัฐ ตั้งแต่ 99-271 บาท เช่นเดียวกับมาเลเซีย ที่ค่าแรงลดหลั่นกันไปตั้งแต่ 241-260 บาท ประเทศกลุ่มนี้มีค่าแรงใกล้เคียงกับไทย โดยไทยมีค่าแรงขั้นต่ำ 300-310 บาท ซึ่งนับว่าแพงเป็นที่ 2 ในอาเซียน รองจากค่าแรงในเขตเมืองใหญ่ของฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังมีการเสนอขึ้นค่าแรงให้สอดคล้องกับค่าครองชีพเป็น 410 บาทภายใน 3 ปี ซึ่งสภาอุตสาหกรรมก็ยอมรับว่าค่าแรงในระดับนี้ถือว่ายอมรับได้  

 

รายได้ขั้นต่ำสำหรับงานทำความสะอาด ต้องไม่น้อยกว่าเดือนละ 34,600 บาท และงานรักษาความปลอดภัย ต้องไม่น้อยกว่าเดือนละ 38,000 บาท  ข้อสังเกตคือ หลายประเทศในอาเซียน เช่นฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย กำหนดค่าแรงขั้นต่ำแตกต่างกันมากในแต่ละรัฐตามค่าครองชีพและศักยภาพของผู้ประกอบการ และแม้ว่าไทยจะมีค่าแรงสูง ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการหันไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านแทน

ในทางกลับกัน การมีค่าแรงสูง อาจช่วยกำหนดรูปแบบของอุตสหากรรมในไทย บีบให้อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เทคโนโลยีน้อย ไปลงทุนที่อื่น และทำให้อุตสาหกรรมในไทย เป็นอุตสาหกรรมประเภทใช้ทักษะเทคโนโลยีมากขึ้น สอดคล้องกับแนวทางพัฒนาเศรษฐกิจ ไทยแลนด์ 4.0 ที่รัฐบาลตั้งเป้าให้เศรษฐกิจไทยพัฒนาด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีมากขึ้น